ศน. จับมือองค์การศาสนา ๕ ศาสนา สานต่อโครงการอบรมผู้นำเยาวชนศาสนิกสัมพันธ์ ขยายพื้นที่การเรียนรู้และเข้าใจการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม รุ่นที่ ๒ วันอังคารที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมการจัดอบรมผู้นำเยาวชนศาสนิกสัมพันธ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยมี ผู้นำองค์การศาสนา ผู้แทนเยาวชน ๕ ศาสนา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี และเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา เข้าร่วมอบรม ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านศาสนา เป็นแกนหลักที่สำคัญต่อการพัฒนาให้เด็ก เยาวชน และประชาชน มีความรู้ เป็นคนดี มีคุณธรรมและจริยธรรม ดังนั้น การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกำลังของชาติได้เรียนรู้หลักธรรมคำสอน เข้าใจความแตกต่างในวิถีชีวิต ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานสังคมที่แตกต่าง จึงเป็นภารกิจที่กรมการศาสนามุ่งเน้นและให้การส่งเสริมตลอดมา โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ กรมการศาสนาได้ร่วมมือจากองค์การศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู และศาสนาซิกข์ รวม ๑๕ องค์การ ได้แก่ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ สำนักจุฬาราชมนตรี สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย สภาคริสตจักรในประเทศไทย สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง สมาคมฮินดูสมาช สมาคมฮินดูธรรมสภา สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา สมาคมนามธารีสังคัตแห่งประเทศไทย และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน ๖ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม จัดอบรมผู้นำเยาวชนศาสนิกสัมพันธ์ รุ่นที่ ๒ ในระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๖ เมษายน ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้แทนเยาวชน ๕ ศาสนา อายุระหว่าง ๑๕ - ๑๘ ปี ที่ผ่านการอบรมเยาวชนศาสนิกสัมพันธ์หลักสูตรขั้นพื้นฐานมาแล้ว เข้ารับการอบรมผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมการปลูกฝังคุณธรรมสำหรับผู้นำ และกิจกรรมการสร้างภาวะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการส่งเสริมสัมพันธภาพในการอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนา ซึ่งได้ทีมวิทยากรมืออาชีพในการเปิดพื้นที่ให้มีการพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพภาวะความเป็นผู้นำของเด็กและเยาวชน รวมทั้งส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับการสร้างแกนนำเยาวชนในการขยายผลด้านศาสนิกสัมพันธ์ ไปยังสถานศึกษา ชุมชน และสังคม ได้เรียนรู้วิถีชีวิตการปฏิบัติที่ต่างกัน เข้าใจ เข้าถึงศาสนาที่นับถือต่างกัน ทำให้เกิดความเข้าใจในความแตกต่าง สามารถนำหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ มาเสริมสร้างคุณธรรมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

23 เม.ย. 67 1

พิธีเปิดงานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ วันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๐๐ น. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เข้าร่วมงานด้วย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

22 เม.ย. 67 1

วันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๗.๐๐ น. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มอบหมายให้ พระเทพวชิรโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช และพิธีตักบาตรพระสงฆ์ ๙๙ รูป งาน “ใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์” โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมงาน ณ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร กระทรวงวัฒนธรรม บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐเอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมกว่า ๒๐ หน่วยงาน จัดงานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี และพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ที่ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความผาสุกและความเจริญสืบมาจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ก่อให้เกิดความสามัคคีและความภาคภูมิใจในความเป็นไทยร่วมกัน ช่วยสนับสนุนสินค้าของชุมชนต่างๆ สร้างรายได้สู่ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การจัดงาน “ใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์” จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๑-๒๕ เมษายน ๒๕๖๗ โดยจัดให้มีพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช และพิธีตักบาตรพระสงฆ์ ๙๙ รูป วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๗ ณ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” เป็นวัดโบราณ สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า วัดโพธาราม ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๑ เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี โดยกำหนดเขตทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้แม่น้ำผ่านกลางพระนคร วัดโพธารามตั้งอยู่ในเขตกำแพงพระนครฝั่งตะวันออก จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง และมีพระราชาคณะปกครองตลอดสมัยกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดโพธารามขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม สร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่จำเป็นอื่นๆ และสร้างถาวรวัตถุ แล้วโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่างๆ มาประดิษฐานบริเวณพระอุโบสถ พระวิหารทิศ และพระระเบียง ฯลฯ และพระราชทานนามว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส ปีพุทธศักราช ๒๓๗๕ – ๒๓๙๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ สิ่งใดชำรุดทรุดโทรมมากก็รื้อสร้างใหม่ขยายรูปทรงบ้าง สร้างเพิ่มขึ้นใหม่บ้าง ส่วนกุฏิสร้างใหม่เป็นตึก และโปรดให้จารึกสรรพตำราต่างๆ ๘ หมวด ลงแผ่นหินอ่อนประดับไว้ตามศาลารายเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน งานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๕ เมษายน ๒๕๖๗ ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนวัฒนธรรม ๑๗๖๕

21 เม.ย. 67 1

วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนกองทุนส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ครั้งที่๒/๒๕๖๗ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยมีนางสาวฐิติมา สุภภัค ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกรมการศาสนา ชั้น ๒ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม และผ่านระบบ Zoom

19 เม.ย. 67 6

วันที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 08.19 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีบวงสรวงเทพยดา งาน “ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” โดยมี พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ เป็นพราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวง พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมงาน ณ ลานสังคีต พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กระทรวงวัฒนธรรม บูรณาการความร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรม กว่า 20 หน่วยงาน จัดงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 21 - 25 เมษายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน บริเวณพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ และวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี และเพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ต่อยอดสร้างรายได้สู่ประชาชนและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ โดยในวันที่ 19 เมษายน 2567 จะมีพิธีบวงสรวงเทพยดา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และวันที่ 21 เมษายน 2567 พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชพิธีตักบาตรพระสงฆ์ 99 รูป ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ งานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ มีกิจกรรม อาทิ ซุ้มเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จบูรพกษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ การแสดงเฉลิมพระเกียรติ ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครในยามค่ำคืน (Night Museum) การแสดงศิลปวัฒนธรรม เช่น โขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอนพระรามราชสุริยวงศ์ การบรรเลงและขับร้องดนตรีสากล ลิเก เรื่อง วีรบุรุษแห่งสยาม โนรา ลำตัด การขับร้องเพลงโดยศิลปินอนันต์ ไมค์ทองคำ งิ้วเปลี่ยนหน้ามหัศจรรย์ มนตรา มายากล จำอวดหน้าม่าน และทุกวันมีการบรรเลงดนตรีไทย ดนตรีสากล รวมทั้งจัดตลาดย้อนยุค กรุงรัตนโกสินทร์มีการสาธิตอาหารชาววังและอาหาร 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ตลาดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ส่วนพื้นที่ที่สอง กิจกรรม ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน มีกิจกรรมเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ “กรุงเทพฯในความทรงจำ:พินิจวัด เวียง วัง ผ่านภาพถ่ายและภาพยนตร์” และ “ไม่บันทึกก็นึกไม่ออก : งานสมโภชพระนคร 200 ปี” กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจากโลกเสมือนต่อยอดสู่โลกความจริง การแสดงดนตรีร่วมสมัย กิจกรรมสาธิตศิลปะร่วมสมัย การแสดงมายากลร่วมสมัย นิทรรศการสงกรานต์และเทศกาลทางน้ำในอาเซียน สำหรับปีนี้เป็นที่น่ายินดีว่ามีพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมรอบเกาะรัตนโกสินทร์ 5 แห่งที่เข้าร่วมการจัดงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เปิดให้ประชาชนเข้าชมนิทรรศการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ 1.พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม ชมสถาปัตยกรรมศิลปะพาลลาเดียนของอาคารโรงทหารม้าที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 ก่อนจะเป็นศาลาว่าการกลาโหม นิทรรศการและวัตถุจัดแสดงที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของศาลาว่าการกลาโหม สัมผัสและถ่ายรูปกับปืนใหญ่โบราณหน้าอาคาร 2.พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน นำชมวังฟังเรื่องราวประวัติศาสตร์ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อกิจการตำรวจไทยและชมความสวยงามของตำหนักจิตรลดายามค่ำคืน และกิจกรรม Work Shop ทางศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ งานตัดกระดาษ ทำตุงไส้หมู (พวงมโหตร) งานสเก็ตภาพลายเส้น สถาปัตยกรรมตำหนักจิตรลดา งานเครื่องสด อบรมการร้อยมาลัย โคมชำร่วย งานเครื่องหอมไทย อบรมการทำบุหงาในพัดโบก งานประดิษฐ์ดอกมะลิขึ้นรูป พวงมาลัยกุญแจ งานช่างศิลปะไทย อบรมการออกแบบลวดลายปูนปั้น ดนตรีในสวน “ชมวัง ฟังเพลง”และการแสดงการปฏิบัติหน้าที่ของสุนัขตำรวจ 3.พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ เปิดให้เข้าชมนิทรรศการ “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ปฏิรูปเหรียญกษาปณ์ไทย” นิทรรศการพิเศษ “เหรียญแห่งศรัทธา พุทธปฏิมารัตนโกสินทร์”และนิทรรศการกว่าจะมาเป็นพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ มีทั้งรอบปกติและรอบพิเศษยามค่ำคืน 4.พิพิธบางลำพู ชมนิทรรศการถาวร นิทรรศการพิเศษ “ลำพูในบาง” และนิทรรศการ “บางลำพูไม่ลำพัง” มีทั้งรอบปกติและรอบพิเศษยามค่ำคืน กิจกรรมตามหาลายแทงขุมทรัพย์บางลำพูและ5.มิวเซียมสยาม ชมมิวเซียมสยาม ณ อาคารนิทรรศการถาวร “ถอดรหัสไทย” และร่วมกิจกรรมมองกล้องส่องประวัติศาสตร์ กิจกรรมทัวร์ใต้ดินกับภัณฑรักษ์และกิจกรรมนำชม Site Museum พิพิธภัณฑ์ใต้ดิน ณ ลานปฏิมากรรมรุ้งและMRT สนามไชย นอกจากนี้ วธ.ยังร่วมกับวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร จัดงานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 - 23 เมษายน 2567 ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพฯ มีกิจกรรมไหว้พระรับพร เสริมสิริมงคล การแสดงศิลปวัฒนธรรม การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุง กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “ปั่นจักรยานเที่ยววัดยามค่ำคืน” การประกวดอาหารสามศาสน์ การสาธิตภูมิปัญญาด้านอาหารและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนวัฒนธรรม 1765

19 เม.ย. 67 9

วธ. จัดงานพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ ยกย่องชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบที่มีความโดดเด่น ๒๔๘ แห่ง เสริมแรงจูงใจขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม ส่งเสริมสังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรม วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน ๒๔๘ แห่ง และสื่อมวลชน เข้าร่วมพิธี ณ ห้องนิทรรศการ ๕ ชั้น ๑ อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ซึ่งเป็นแผนที่ดำเนินการต่อเนื่องจากแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๕) มีเป้าหมาย “คนไทยมีพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรมเพิ่มขึ้น มุ่งสู่สังคมคุณธรรมที่คนไทยอยู่ร่วมกันด้วยความสมานฉันท์ ภายใต้หลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม และประเทศไทยปลอดทุจริตและประพฤติมิชอบ” และมีตัวชี้วัด ดัชนีคุณธรรม ๕ ประการ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู” เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงในมิติด้านคุณธรรม มีคุณธรรมเป็นหลักยึดถือและปฏิบัติ รวมทั้งพัฒนาคุณธรรมในสังคมไทยให้ปรากฏชัดและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กำหนดจัดงานพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ในวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องนิทรรศการ ๕ ชั้น ๑ อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบที่มีความโดดเด่น จำนวน ๒๔๘ แห่ง เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และเสริมแรงจูงใจในการส่งเสริมการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการสร้าง “สังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรม ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ได้เห็นชอบผลการประเมินและการประกาศยกย่อง ชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ใน ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับส่งเสริมคุณธรรม ระดับพัฒนาคุณธรรม และระดับคุณธรรมต้นแบบ รวมจำนวน ๔๒,๔๓๐ แห่งและเห็นชอบผลการคัดเลือกชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบที่มีความโดดเด่น จำนวน ๒๔๘ แห่ง ประกอบด้วย ชุมชนคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน ๗๖ ชุมชน องค์กรคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน ๙๓ แห่ง อำเภอคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน ๗๕ แห่ง และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน ๔ จังหวัด ซึ่งจะได้รับโล่เชิดชูเกียรติจากนายกรัฐมนตรี การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจและเสริมแรงจูงใจในการขับเคลื่อนชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการการทำความดี ตลอดจนการปรับเปลี่ยนวิธีคิด กรอบคิดหรือค่านิยมและพฤติกรรมของคนในสังคมให้มีการสะท้อนการมีคุณธรรมในการดำรงชีวิตจนเป็นพฤตินิสัยของคนไทย และมีผลงานเด่นชัดเจนเป็นที่ประจักษ์จนได้รับการคัดเลือกเป็นชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมและขับเคลื่อนเครือข่ายคุณธรรมให้ประสบผลสำเร็จในทุกพื้นที่ ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม ปลุกจิตสำนึกและมีความตระหนักที่จะนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิธีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม และคุณธรรม ๕ ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ร่วมส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพคนและองค์กรเครือข่ายให้เป็นหลักนำทางและหลักคิดในการดำรงชีวิต นำพาประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน

18 เม.ย. 67 35
วันที่ ชื่อโครงการ เอกสารแนบ
5 เม.ย. 67 รายงานของผู้สอบบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2566
26 มี.ค. 67 Do and Don't พฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคลากรกรมการศาสนา
22 มี.ค. 67 ประกาศกรมการศาสนา เรื่อง ผลการประกวดสวดโอ้เอ้วิหารราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
13 มี.ค. 67 แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
4 มี.ค. 67 ประกาศรายชื่อพระสงฆ์เดินทางไปประกอบศาสนากิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
2 ก.พ. 67 ประกาศกรมการศาสนา เรื่อง รายชื่อพระสงฆ์ที่ผ่านการคัดเลือกไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเตีย-เนปาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ (เพิ่มเติม)
2 ก.พ. 67 ประกาศกรมการศาสนา เรื่อง มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
2 ก.พ. 67 ระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ในการป้องกันการรับสินบน ผลประโยชน์ทับซ้อนและการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่กรมการศาสนาในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2567
วันที่ ชื่อโครงการ เอกสารแนบ
22 เม.ย. 67 รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง ตำแหน่งนักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ ใหม่
3 เม.ย. 67 รับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งนักวิชาการพัสดุชำนาญการพิเศษ
26 ม.ค. 67 ประกาศผลการคัดเลือกเพื่อรับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ
16 ม.ค. 67 ประกาศกรมการศาสนาเรื่อง รายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการศาสนา ระดับชำนาญการพิเศษ
15 ม.ค. 67 ประกาศคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งฯ เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง ตำแหน่งนักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ และตำแหน่งนักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
20 ธ.ค. 66 ประกาศกรมการศาสนา เรื่อง รับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ .
31 ส.ค. 66 ประกาศกรมการศาสนา เรื่อง การขึ้นบัญชีและยกเลิกบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกในตำแหน่งนักวิชาการศาสนาปฎิบัติการของกรมการศาสนา
25 ส.ค. 66 ประกาศกรมการศาสนา เรื่อง รายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการประเมินผลงาน เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น (๑)